Page 21 - แนวทางการใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อม
P. 21
1) มีความอยากใช้อย่างรุนแรง และเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรงท�างาน
2) ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก เจ็บในข้อ ปวดหลัง กล้ามเนื้อกระตุก
(ทกท่อม) นอนไม่หลับ ซึ่งเป็นอาการที่ทรมานมาก ท�าให้ผู้ที่พยายามเลิกใช้กระท่อม
ทนไม่ไหว และกลับมาใช้กระท่อมต่อไป
3) โมโหง่าย อารมณ์เสียบ่อย เครียด วิตกกังวล หงุดหงิด ไม่สบายใจ
กระวนกระวายใจ ซึมเศร้า
4) อาการทางระบบประสาทอัตโนมัติ ครั่นเนื้อครั่นตัว หนาวสั่น คล้ายจะเป็นไข้
ง่วง หาว น�้ามูก น�้าตาไหล น�้าลายเหนียว เบื่ออาหาร ท้องเสีย
ผู้ที่ติดกระท่อมอย่างรุนแรง คือผู้ที่ต้องเคี้ยวใบกระท่อมเกือบทุกชั่วโมง
อาจมีหรือต้องมีใบกระท่อมอยู่ในปากตลอดเวลา ในวันที่ไม่ได้เคี้ยวใบกระท่อม
อาจมีอาการท้องเสียในตอนเช้า บางรายถ่ายทั้งวัน อุจจาระมีกลิ่นเหม็นเขียว
ใบกระท่อม กินยาแก้ท้องเสียก็ไม่หาย ต้องกลับมาเคี้ยวใบกระท่อม อาการจึงจะ
ทุเลาลง บางรายมีอาการคลื่นไส้ พะอืดพะอม ถึงขั้นอาเจียนในตอนเช้า ในรายที่
เลิกกระท่อมได้นั้น พบว่าอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน
และที่ส�าคัญต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง ในกลุ่มนี้น้อยคนที่สามารถเลิกกระท่อมได้
โดยที่ไม่ใช้สารเสพติดชนิดอื่น ๆ มาทดแทน เช่น ดื่มเหล้า ยาดองเหล้า หรือ เบียร์
ส่วนใหญ่มักพบว่า คนที่เลิกกระท่อมจะหันมาดื่มเหล้าแทน
จากการสัมภาษณ์ผู้ใช้กระท่อมเป็นประจ�าจ�านวนมาก พบว่า เมื่อพยายาม
หยุดใช้กระท่อมหลายครั้ง สุดท้ายต้องกลับมาใช้อีก เพราะไม่สามารถท�างานได้
และรู้สึกไม่มีความสุข บางรายไปหาหมอที่โรงพยาบาลและได้ยาแก้ปวดมากิน
บรรเทาอาการขาดกระท่อม เมื่อฤทธิ์ของยาแก้ปวดหมด อาการถอนยาหรือ
ขาดกระท่อมก็จะเกิดขึ้นอีก ดังนั้นผู้ตั้งใจจะเลิกกระท่อมอย่างจริงจัง ต้องอดทน
กับอาการต่าง ๆ ให้ได้ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ถึง 3 ปี จึงจะเลิกกระท่อม
ได้อย่างเด็ดขาด ส่วนใหญ่มักถอดใจและกลับมาใช้กระท่อมอีก เพราะสังคมในชนบท
เป็นวิถีที่คนส่วนใหญ่ยังใช้กระท่อมเพื่อการท�างานและสังสรรค์ เมื่อเห็นเพื่อนใช้
เพื่อนชวนหรือยื่นให้ ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะกลับมาใช้กระท่อมอีกครั้ง (6)
แนวทางการใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อม 15